Tuesday, May 8, 2012

วิธีการจัดระเบียบพระสงฆ์ที่เป็นเจ้าอาวาสหรือพระสงฆ์ที่มีตำแหน่งเป็นเจ้าคณะต่างๆ


การจัดระเบียบพระสงฆ์ที่มีตำแหน่ง.........

๑.นำ พระราชบัญญัติการบัญชี  พ.ศ. ๒๕๔๓
๒.ใช้ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๕๗   เกี่ยวกับการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ตามกฎหมาย พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ฯ
๓.ใช้ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
๔.ใช้ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522   ส่วนใหญ่ วัดต่างๆ จะไม่ได้ขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร เช่น  ศาลา โบสถ์ เมรุ กุฎิ  รั้ว
๕.ใช้ มาตรการ สังคมกดดัน   เช่น  พระสูบบุหรี่ , พระดูหนังโป๊ว , พระดิ่มเหล้า เหมือนที่เป็นข่าว....ฯ 



การจัดการศาสนสมบัติวัด



              เนื่องจากวัดเป็นนิติบุคคล เจ้าอาวาสเป็นผู้บริหารวัดและมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ และฉบับแก้ไขเพิ่ม พ.ศ.๒๕๓๕ และตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๑๑)  ดังนั้น วัดจึงจำเป็นจะต้องบริหารจัดการวัดให้เรียบร้อยไปทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการบริหารบุคลากรภายในวัด การส่งเสริมการศึกษา การทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ตลอดจนการบริหารจัดการศาสนสมบัติ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนสมบัติของวัดนั้นมีผู้เข้าไปใช้สอยมากมาย หรือบางครั้งชาวบ้านมีการมีงานอาจจะต้องยืมของภายในวัดไปจัดงาน นอกจากนี้แล้วที่ดินที่ตั้้งวัดก็ดีหรือที่ธรณีสงฆ์ก็ดี วัดควรจำทำโฉนดและขึ้นทะเบียนให้เรียบร้อยเพราะหากไม่ดูแลให้ดี อาจมีการบุกรุกที่วัด หรือที่ธรณีสงฆ์ ทำให้เกิดคดีความขึ้นมาแล้วมากมาย จากสาเหตุดังกล่าวสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจึงได้วางหลักเกณฑ์แนวทางปฏิบัติตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๑๑) ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาอันอาจจะเกิดขึ้นวัดทุกวันควรการจัดศาสนสมบัติตามแนวปฏิบัติที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติกำหนด  แต่บางวัดอาจจะมีศักภาพไม่เท่าเทียบกัน วัดใหญ่ๆ มีการรับจ่ายเงินมากมีศาสนสมบัติบัติมาก วัดเล็กๆมีการรับจ่ายเงินน้อยและมีศาสนสมบัติน้อย แต่ไม่ว่าจะเป็นวัดใหญ่หรือวัดเล็กก็จะต้องมีการจัดการศาสนสมบัติไปในแนวเดียวกัน ทั้งนี้ตามศักยภาพของวัด หากวัดจัดการศาสนสมบัติด้วยความเรียบร้อยปัญหาที่จะเกิดตามก็น้อยลงไปด้วย หรืออาจไม่เกิดปัญหาเลยก็ได้

การจัดการศาสนสมบัติของวัด

             ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕    วัดในพระพุทธศาสนาเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ดังนั้น กิจการและทรัพย์สินของนิติบุคคล ซึ่งผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการปกครองดูแลก็คือ  เจ้าอาวาสจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกฎหมายคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕  และกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๑๑) ข้อ ๖ “ให้เจ้าอาวาสจัดให้ไวยาวัจกรหรือผู้จัดประโยชน์ของวัดซึ่งเจ้าอาวาสแต่งตั้งทำบัญชีจ่ายเงินของวัด และเมื่อสิ้นปีปฏิทินให้ทำบัญชีเงินรับจ่ายและคงเหลือ ทั้งนี้ให้เจ้าอาวาสตรวจตราดูแลให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและถูกต้อง”   และ   " ข้อ ๘ ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กำหนดแบบทะเบียน บัญชี แบบสัญญา และแบบพิมพ์อื่นๆ และให้คำแนะนำการปฏิบัติแก่วัด เกี่ยวกับการ ดูแลรักษาและการจัดการศาสนสมบัติของวัด ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามกฎกระทรวงนี้”   โดยกฎกระทรวงข้อนี้  สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้กำหนดแบบพิมพ์ต่างๆ ขึ้นเพื่อให้วัดใช้ดังต่อไปนี้
         ๑. ทะเบียนทรัพย์สินของวัด
         ๒. ทะเบียนทรัพย์สินจัดประโยชน์
         ๓. ทะเบียนผู้เช่าหรือผู้อาศัย
         ๔. แบบสัญญาต่าง ๆ
         ๕. บัญชีรับจ่ายเงิน
         ๖. บัญชีงบปี
         ๗. ใบเสร็จรับเงิน
         ๘. กระดาษเขียนแผนผังวัด

ดังนั้น ตามข้อ ๘. ดังกล่าว ตามที่กำหนดไว้ยังขาดบัญชีที่จำเป็นต้องใช้คือ สมุดเงินสดและบัญชีแยกประเภท เพราะกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ ข้อ ๕. “การเก็บรักษาเงินของวัดในส่วนที่เกินสามพันบาทขึ้นไป ให้เก็บรักษาโดยฝากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือฝากธนาคาร ทั้งนี้ให้ฝากในนามของวัด” ต่อมาสำนักงาพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้กำหนดแบบบัญชีขึ้นอีก ๒ เล่ม คือ
        ๑. สมุดเงินสด
        ๒. บัญชีแยกประเภท

ดังนั้น แบบบัญชีที่วัดจำเป็นต้องมี
         ๑) สมุดเงินสด
         ๒) บัญชีแยกประเภท
         ๓) บัญชีรับจ่ายของวัด
         ๔) งบปีแสดงรายรับรายจ่ายและเงินคงเหลือสำหรับปี

ทะเบียนที่วัดจำเป็นจะต้องมี
         ๑) ทะเบียนทรัพย์สินของวัด
         ๒) ทะเบียนทรัพย์สินจัดประโยชน์
         ๓) ทะเบียนผู้เช่าหรือผู้อาศัย

การจัดทำบัญชีวัดนั้น
๑. วัดจะต้องแยกเงินของวัดออกเป็น ๒ ประเภท คือ
         ๑.๑ เงินผลประโยชน์ ได้แก่เงินที่ได้มาจากการจัดประโยชน์ของวัดเช่น เงินค่าเช่า ค่า
ผาติกรรม ดอกเบี้ย ส่วนลด เงินค่าบำรุง เงินค่าขายสิ่งของ เงินค่าชดเชยเงินค่าปรับและเงินใดๆ ที่เป็นส่วนที่งอกเงยขึ้นจากศาสนสมบัติของวัด
         ๑.๒ เงินการกุศล ได้แก่เงินที่มีผู้บริจาคเจาะจงการกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น บริจาคเป็นค่าภัตตาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าก่อสร้างถาวรของเจ้าภาพเงินบำรุงพระอาพาธ และเงินอื่นๆ ในลักษณะเช่นนี้
  ส่วนเงินงบใดที่มีผู้บริจาคให้แก่วัดเพื่อให้ตนได้มาซึ่งสิทธิในการแสวงหาประโยชน์จากวัด จะโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม ต้องนับว่าเป็นเงินผลประโยชน์ของวัดทั้งสิ้นและผู้ใดจะอ้างเอาจำนวนเงินที่ตนบริจาคทำบุญกับวัดมาเป็นสิ่งแลกเปลี่ยนหรือเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแลกเปลี่ยน เพื่อให้ตนได้มาซึ่งสิทธิในการแสวงหาผลประโยชน์จากวัดหาได้ไม่ เช่น การขอลดค่าเช่า ค่าบำรุงจากการเช่าที่วัด เพราะอ้างว่าผู้นั้นเคยทำบุญกับวัดมามาก)
  การรับเงินผลประโยชน์และเงินการกุศลวัดจะต้องออกใบเสร็จรับเงินทุกครั้ง ทุกรายการ เมื่อออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ชำระเงินแล้ว วัดจะออกใบอนุโมทนาอีกต่างหากหรือไม่ก็แล้วแต่ทางวัดจะเห็นสมควร ใบเสร็จรับเงินให้ใช้ตามแบบของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
๒. เงินผลประโยชน์ของวัด ให้วัดเก็บไว้ได้ ๓,๐๐๐ บาท เป็นอย่างมาก ส่วนที่เกิน ๓,๐๐๐ บาท ไปเท่าไร ให้ฝากไว้กับธนาคาร
  ในการเปิดบัญชีเงินฝาก ในการทำใบนำส่งฝากแต่ละคราวก็ดี ให้ระบุชื่อบัญชีว่า “เงินของวัด.........................”  ห้ามฝากในนามบุคคล หรือระบุชื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง    ในกรณีที่ฝากเงินไว้กับธนาคารให้ระบุชื่อผู้มีอำนาจถอนเงินไว้อย่างน้อย ๓ คน คือ
       ๑) เจ้าอาวาส
       ๒) ไวยาวัจกรหรือผู้จัดประโยชน์ที่เจ้าอาวาสแต่งตั้ง
       ๓) ผู้ที่เจ้าอาวาสเห็นสมควร

แต่การสั่งจ่ายให้ลงนามในเช็คสั่งจ่ายพร้อมกัน โดยมีเจ้าอาวาสลงนามด้วยทุกครั้ง จึงจะถอนเงินได้
๓. เงินการกุศล  การดูแลรักษาตลอดจนการใช้จ่ายเงิน ให้เป็นไปตามความประสงค์ไว้ อย่างชัดเจนว่า จะให้เก็บรักษาที่ไหน อย่างไร วัดก็อาจปฏิบัติเช่นเดียวกับการเก็บรักษาเงินผลประโยชน์โดยอนุโลม 
๔. การจัดทำบัญชีวัด จะต้องปฏิบัติดังนี้
    ๔.๑ การทำบัญชี จะต้องเป็นรอบระยะเวลา ๑ ปี ปฏิทิน โดยเริ่มจาก ๑ มกราคม ถึง ๓๑ ธันวาคม  ของทุกปี  
     ๔.๒ บัญชีวัดที่ให้จัดทำนั้น มีสมุดเงินสดและบัญชีแยกประเภทเพียง ๒ เล่ม
     ๔.๓ สมุดเงินสดจะใช้บัญชี ๓ ช่อง โดยมีช่องรายรับรายจ่ายและคงเหลือ วัดจะต้องยอกยอดเงินสด ณ วัตที่ ๓๑ ธันวาคม ของปีที่แล้ว ยกมาเป็นเงินสดคงเหลือยกมา ณ วันที่ ๑ มกราคม ของปีที่ทำบัญชี และการลงบัญชีเงินสดจะต้องลงทุกวัน ในวันที่มีการรับจ่ายเงิน จนถึงสิ้นเดือนแต่ละเดือน ก็ให้รวมยอดทุกสิ้นเดือนและบวกเลขรวมยอดทุกเดือนเป็นช่องรวมแต่ต้นปีการที่ลงบัญชีสมุดเงินสดเพื่อให้ทราบว่ามีเงินสดคงเหลือในเมือเท่าไร
      ๔.๔ หลังจากลงบัญชีในสมุดเงินสดแล้ว จะต้องทำรายการรับและจ่ายทุกรายการ ไปลงบัญชีในบัญชีแยกประเภท โดยแยกประเภทของเงินที่รับ และเงินที่จ่ายไปด้วยว่ามีรายรับ รายจ่าย แต่ละประเภทเท่าไร และรวมยอดแต่ละเดือนของรายรับและรายจ่ายแต่ละประเภทว่ามีเท่าไรและให้รวมยอดแต่ละเดือนเป็นยอดรวมแต่ต้นปี เพื่อประโยชน์ในการจัดทำรายงานบัญชีรับจ่ายในทุกเดือน เดือนละ ๑ ครั้ง 
      ๔.๕ เมื่อจัดทำบัญชีโดยสมุดบัญชีเงินสด บัญชีแยกประเภทให้เป็นปัจจุบันแล้ว ให้วัดเก็บรักษาไว้ที่วัด เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบในการขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ขอเป็นวัดพัฒนา และเมื่อมีชาวบ้านมาร้องเรียนเรื่องการเงินของวัด
      ๔.๖ เมื่อวัดทำบัญชีวัดทั้ง ๒ เล่มแล้ว ให้วัดนำตัวเลขรายละเอียดของรายรับแต่ละประเภท รายจ่ายแต่ละประเภท ในแต่ละเดือนจัดทำรายงานบัญชีรายรับ รายจ่ายของวัด เพื่อส่งสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดในทุก ๑ เดือน  
      ๔.๗ หน้าบัญชีในสมุดเงินสด ให้ใช้หน้าบัญชีในบัญชีแยกประเภท เช่น รายรับเงินบริจาค ที่ใส่สมุดเงินสดหน้า ๑ ก็ให้ใส่ตัวย่อเป็นหน้าบัญชี ย.๑ ในสมุดเงินสดและในบัญชีแยกประเภท หน้าบัญชีให้ใส่ ง.ส.๑ คือยกมากจากสมุดเงินหน้า ๑ 
     ๔.๘ การลงบัญชีในสมุดเงินสดและบัญชีแยกประเภท จะต้องนำเลขที่ใบเสร็จรับเงินและจ่ายเงินมาลงบัญชีทุกครั้ง 
  เมื่อเจ้าอาวาสได้มอบหมายให้ไวยาวัจกร หรือผู้จัดประโยชน์ของวัดทำบัญชีแล้ว ความรับผิดชอบของเจ้าอาวาสยังไม่สิ้นสุด เจ้าอาวาสจะต้องตรวจตราดูการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีด้วยว่าได้ปฏิบัติโดยเรียบร้อยและถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องก็สั่งให้แก้ไขให้ถูกต้องระยะเวลาที่เจ้าอาวาสจะตรวจสอบ ควรตรวจทุกเดือนไม่ควรทิ้งระยะเวลานานเกินไป นอกจากนี้ยังตรวจได้เสมอ ในเมื่อมีความประสงค์จะตรวจ เมื่อเจ้าอาวาสได้ตรวจบัญชีถึงหน้าใดแล้ว ก็ให้ลงบันทึกไว้ที่มุมใดมุมหนึ่งของหน้าบัญชีนั้นว่า “ตรวจแล้ว” พร้อมกับลงนามและวันที่ตรวจสอบกำกับไว้ด้วย  ในการตรวจตราดูแลบัญชี เจ้าอาวาสอาจมอบหมายให้ภิกษุรูปอื่นที่มีความรู้ทางบัญชีทำการตรวจแทนก็ได้
  การตรวจบัญชีนั้น จะต้องตรวจสอบหลักฐานในการลงบัญชี เช่น ใบเสร็จรับเงิน โดยเอาเลขที่ของใบเสร็จรับเงินมาลงบัญชีด้วย แต่บางครั้งวัดจะจ่ายเงินค่าจ้างคนงานซึ่งยากที่จะเรียกได้ วัดจะต้องทำหลักฐานให้เซ็นหรือใช้ใบสำคัญรับเงินก็ได้บางครั้ง เช่น วัดจ่ายค่าเช่ารถยนต์ หรือค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ซึ่งไม่สามารถเรียกใบเสร็จรับเงินได้ ก็ต้องใช้ใบสำคัญรับเงินแทน
๕. การจัดทำทะเบียนทรัพย์สิน
การลงทะเบียนทรัพย์สินของวัด เช่น วัดซื่อครุภัณฑ์มาใช้ในวัด หรือมีผู้บริจาคให้วัด ก็ต้องแยกประเภททรัพย์สินแต่ละอย่าง เช่น โต๊ะขนาดต่าง ๆ ก็ต้องแยกตามขนาดด้วย และเก้าอี้ก็ต้องแยกขนาดเก้าอี้ และให้รหัสของทรัพย์สินแต่ละประเภทไว้และพ่นรหัสของทรัพย์สินแต่ละประเภท เพื่อสะดวกในการบันทึกบัญชีทรัพย์สินของวัด และเมื่อมีการจำหน่ายทรัพย์สินก็ต้องนำมาลงในบัญชีที่บันทึกไว้ว่าได้มีการจำหน่ายเพราะสาเหตุใด
               การยื่นขอรังวัดออกโฉนดที่ดิน วัดและสำนักสงฆ์ทุกแห่งที่มีหนังสือแจ้งการครอบที่ดิน (ส.ค.๑) หนังสือรับรองการทำประโยชน์ หรือ น.ส.๓, น.ส.๓ ก  ให้มอบอำนาจให้ทายกทายิกาหรือไวยาวัจกร ๑ - ๒ คน ไปยื่นคำร้องขอออกโฉนดที่ดินกับสำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินสาขาที่ที่ดินตั้งอยู่ หรือดำเนินการมอบอำนาจให้สำนักงานพระพุทธศาสนาจ้ังหวัดเป็นผู้ดำเนินการขอออกโฉนดที่ดิน สำหรับวัดที่อยู่ในเขตเทศบาล  และให้ดำเนินการเสร็จสิ้นก่อนวันท่ี่ ๖ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๓

ที่มา  http://sni.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=110:2009-10-15-14-50-42&catid=41:2008-10-29-14-40-50&Itemid=75   เข้าถึงเมื่อ ๘ พ.ค. ๒๕๕๕

๑.เราเชื่อว่า วัด ต่างๆ ในต่างจังหวัดส่วนใหญ่ 
ไม่ได้จัดทำบัญชี...ตามที่มี
ระเบียบ ดังกล่าวข้างต้นและไม่ได้ขออนุญาต ใน
การสร้าง สถานที่ต่างๆ  
เรามาช่วยกันจัดระเบียบสังคมเพื่อให้พระสงฆ์ 
สืบทอด หลักคำสอนของ
พระพุทธเจ้า ให้ครบ ๕,๐๐๐ ปี ให้จงได้

๒.พระที่มีตำแหน่ง  ส่วนใหญ่ ไม่ได้ใส่ใจ ตรวจ
สอบ วัดหรือพระผู้ใต้บังคับบัญชาว่า กระทำ ถูก
กฎหมาย หรือไม่  มีการคอรัปชั่น หรือไม่..?

๓. พระ เจ้าคณะ ส่วนใหญ่  ไม่มีความรู้ด้าน 
กฎหมาย บางครั้ง แค่อ่าน ก็คิดว่าใช่ ตีความไม่
เป็น....จึงคิดว่าที่อ่านถูกต้อง 

๔. บางครั้ง พระ ที่มีตำแหน่ง  เข้าใจว่าลูกศิษย์ มี
ตำแหน่งสูงส่งสามารถช่วยเหลือให้ผิดเป็น...ถูก 
(หมดสมัย)

๕. ที่ผ่านมาพระ ที่มีตำแหน่ง ยัง ไม่
เคย พบ ใคร....ที่ตรงฉิน และใช้ 
กฎหมายเป็น...........และใช้
สื่อสารมวลชน ให้ได้ผลเต็มรูปแบบ



















โปรดติดตามรายละเอียด ต่อ



ไป.................



No comments:

Post a Comment